แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - fc3s

หน้า: [1]
1


ในสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายหรือการติดต่อได้ถูกย้ายมาบนเพลตฟอร์มออนไลน์โดยเว็บไซต์และ mobile app กันแล้วทั้งนั้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในการสั่งซื้อ ติดต่อ ทำธุรกรรม หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งบริการออนไลน์ต่างๆ จำเป็นต้องใช้บริการที่เรียกว่า hosting เพื่อฝากข้อมูลบน server ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในศูนย์ข้อมูล (datacenter) เพื่อให้บริการนั้นๆ สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา

โดยถ้าพูดถึง web hosting จะเป็นบริการ server สำหรับเว็บไซต์ แต่ถ้าพูดถึงโฮสติ้งจะมีความหมายที่กว้างกว่า คือไม่จำเป็นต้องฝากข้อมูลเว็บไซต์เท่านั้น อาจจะเป็นการฝากข้อมูลแอพพลิเคชั่น อีเมล ฐานข้อมูล รูปภาพ vpn หรืออื่นๆ ก็ได้

สำหรับเว็บโฮสติ้งมีบริการให้เลือกหลากหลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ หาก user ของเว็บไซต์คุณส่วนใหญ่อยู่ในไทยคุณควรใช้ hosting ในไทยเพราะว่าผู้ใช้งานเว็บจะได้เข้าถึงเว็บได้รวดเร็วที่สุด อีกทั้งเมื่อคุณใช้โฮสต้้งกับผู้ให้บริการในไทยคุณสามารถโทรติดต่อได้สะดวกกว่าและสอบถามปัญหาง่ายกว่าเพราะใช้ภาษาไทยเหมือนกัน แต่หากuser ของเว็บไซต์คุณส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศคุณควรใช้ web hosting ในประเทศนั้นๆ เพื่อที่ผู้ใช้เว็บไซต์จะได้เข้าถึงเว็บได้ไวและเสถียรที่สุด

อย่างไรก็ตาม hosting ต่างประเทศมีข้อเสียตรงที่การชำระเงินจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต paypal หรือ bitcoin แล้วก็มีข้อเสียตรงที่ราคาแพงกว่าอีกทั้งยังต้องติดต่อกับ support โดยใช้ภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งหากคุณไม่ถนัดภาษาหรือไม่สะดวกบางประกาศในการใช้โฮสติ้งต่างประเทศคุณมีอีกทางเลือกคือใช้ hosting ต่างประเทศที่ให้บริการโดยคนไทย ซึ่งวิธีนี้ทำให้คุณสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร โดยเช็คหรือ prompt pay ได้ อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งานคุณสามารถติดต่อเป็นภาษาไทยได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องการสื่อสารกับ support ไม่รู้เรื่องอีกต่อไป

สรุปคือคุณควรใช้โฮสติ้งให้เหมาะสมและถูก location เพื่อให้ user เข้าถึงบริการออนไลน์หรือเว็บไซต์ของคุณได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด

2
ในยุคที่ social media เช่น Facebook และ Instagram กำลังบูม ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SME หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ต่างมุ่งไปที่การขายของทาง Facebook เพียงอย่างเดียว เพราะคนไทยใช้เฟสบุ๊คกันเยอะ อีกทั้งการสร้าง Fanpage บน Facebook ง่ายและรวดเร็วกว่าการทำเว็บไซต์มาก ทำให้หลายๆ ธุรกิจตัดสินใจที่จะละเลยการทำเว็บไซต์เพราะกังวลเรื่องความยุ่งยากในการทำ

อยากบอกว่าคุณพลาดมากที่ไม่ทำเว็บไซต์เพราะว่า Facebook ลดการมองเห็นลงเรื่อยๆ อีกทั้งโฆษณาบนเฟสบุ๊คก็ไม่สามารถกำหนด keyword การค้นหาได้ชัดเจนเหมือน search engine ทั่วไปอีกด้วย และ  Facebok Fanpage ก็ไม่สามารถทำอันดับดีๆ บน google ได้เพราะไม่ค่อยเป็นมิตรต่อ SEO เท่าเว็บไซต์ อีกข้อเสียสำคัญของเฟสบุ๊คไม่สามารถปิดการขายได้ที่เท่าเว็บไซต์เพราะ landing page มีคุณภาพต่ำกว่าและแสดงข้อมูลได้จำกัด



การมีเว็บไซต์เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจออนไลน์เพราะมีจุดเด่นหลายๆ อย่างเช่น

- เว็บไซต์เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เพราะเปรียบเสมือพื้นที่ร้านค้าของคุณเอง ต่างจากพวกโซเชียลมีเดียซึ่งเหมือนเป็นการออกบูธซะมากกว่า การมีเว็บไซต์ทำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือขึ้นเยอะ

- เว็บไซต์ community ที่มีคนเข้าพอสมควร สามารถใส่โฆษณาเช่น banner หรือ ads แบบ PPC ได้ ทำให้สร้างรายได้ได้หลากหลายกว่าการใช้โซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียว

- เว็บไซต์เป็นบ้านของคุณเอง ปรับแต่งและใส่ข้อมูลได้ง่ายกว่ามาก ที่สำคัญไม่โดนบล๊อกง่ายๆ แบบ Facebook แน่นอน

- การมีเว็บไซต์ทำให้ลูกค้ามีหลากหลายช่องทางในการชำระเงินมากกว่าการใช้ social media เพราะคุณสามารถปรับแต่งได้หลากหลายกว่าเช่นทำระบบตะกร้าสินค้า และรองรับการเก็บข้อมูลบัตรเครดิตอีกด้วย

- เว็บไซต์ทำให้ลูกค้าค้นหาธุรกิจของคุณเจอบนโลกออนไลน์ เพราะโอกาสติด search engine ของเว็บไซต์มีสูงกว่าพวก social media มาก



สมัยก่อนการทำเว็บไซต์เป็นเรื่องยากเพราะต้องเขียนภาษาโปรแกรมมิ่งเป็น แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว สมัยนี้แค่มีพื้นฐาน html เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำเว็บไซต์ได้โดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยใช้ Content Management System หรือ CMS เช่น WordPress มาช่วย ซึ่งก็มีหลาย host ที่มีระบบติดตั้ง CMS ต่างๆ แบบอัตโนมัติ ในไม่กี่คลิก ทำให้ยิ่งสะดวกขึ้นไปอีก

องค์ประกอบหลักๆ ในการทำเว็บไซต์มี 3 อย่างคือ

- script และข้อมูลต่างๆ อันนี้คุณมี 2 ทางเลือกคือเขียนโปรแกรมเองด้วยภาษา PHP หรือ ASP.NET หรือจะใช้ CMS เพื่อช่วยในการทำเว็บก็ได้ หากคุณต้องการทำเว็บได้ไวขึ้นคุณอาจจะหาซื้อ theme ต่างๆ เช่นจาก Themeforest เพื่อให้การทำเว็บราบรื่นขึ้นได้

- คุณต้องหาเช่าบริการ hosting ซึ่งเป็นบริการเช่าพื้นที่บน server เพื่อเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเว็บของคุณบนอินเตอร์เน็ตได้ทุกเวลาที่ต้องการ ประเภทของโฮสติ้งหลัก ๆ แบ่งออกเป็น Shared Hosting, Virtual Private Server หรือ VPS และ Dedicate Hosting ส่วนจะใช้โฮสติ้งประเภทไหน อันนี้คงขึ้นกับงบและความต้องการของเว็บไซต์เป็นหลัก

- เมื่อมี host แล้วสุดท้ายก็ต้องจดทะเบียนชื่อเว็บที่ไม่ซ้ำกันบนระบบ DNS หรือที่เรียนกันว่าการจดโดเมนนั่นเอง เราจดโดเมนเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บได้ง่ายโดยเข้าผ่านชื่อเว็บแทนการจำเลข IP ของ server เราควรตั้งชื่อโดเมนให้สั้นและกระชับจะได้จำง่ายและควรใช้สกุลที่นิยมกันเช่น .com และ .net เป็นต้น

สรุปค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์รวมทุกอย่างแล้วไม่เกิน 5,000 กรณีทำเว็บไซต์เอง ไม่แพงเลยใช่ไหมละครับ คุ้มค่าในระยะยาวมากๆ แน่นอนหรือหากกรณีจ้างทำเว็บไซต์ก็เริ่มที่ประมาณ 15,000 บาทขึ้นกับความยากง่ายและความซับซ้อนของเว็บไซต์นั่นเอง

หน้า: [1]