แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - mayvee_cdncloud

หน้า: [1] 2
1
ก่อนอื่นต้องดูที่วัตถุประสงค์เป็นหลัก ว่ามี Server (เซิร์ฟเวอร์) ไว้ใช้ทำอะไร ซึ่งคงต้องย้อนกลับไปดูว่า Server คืออะไร ถ้าจะแปลความหมายกันตรงๆ Server ก็คือ "ผู้รับใช้" "ผู้ให้บริการ" ผมจะขยายความเพิ่มให้ว่า Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวมถึงระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่าง แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย (Client)
คำถามต่อมาก็คือ บริการที่ว่านี้ คืออะไร ?

ผมขอแบ่งการบริการของเซิร์ฟเวอร์หลักๆออกเป็น 2 ประเภท ตามหน้าที่ คือ บริการด้านเทคนิค กับ บริการด้านผู้ใช้

บริการด้านเทคนิค คำนี้อาจจะดูยากๆสักหน่อยสำหรับผู้ใช้ทั่วๆไป เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิค บริการทางเทคนิคที่ว่า ได้แก่ DHCP Server, DNS Server เป็นต้น ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ ก็เพื่อให้องค์ประกอบของเน็ตเวิร์คสมบูรณ์ หรือเกิดเป็นระบบที่เกื้อกูลกันภายในเน็ตเวิร์ค
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี Server ใช้ภายในบริษัท ?
บริการด้านผู้ใช้ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ Files Server สำหรับเก็บไฟล์เอกสารหรือไฟล์ข้อมูล และมักพบได้บ่อยในทุกทุกบริษัท ที่จำเป็นต้องใช้เอกสารร่วมกัน หรือบริการ Database Server ซึ่งมีตั้งแต่ Database ขนาดเล็กที่เก็บในลักษณะไฟล์ไฟล์เดียว ไปจนถึง ระบบ Database Engine

ผมขอยกตัวอย่าง Files Server เพราะจะเห็นภาพได้เจน และพบเห็นได้บ่อย ไม่ว่าบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เมื่อย้อนกลับไปถึงคำถาม ว่าจำเป็นหรือไม่ คำตอบคือ จำเป็นที่ต้องมีครับ ถ้าคุณต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ยิ่งถ้าหากข้อมูลที่มี มีความสำคัญกับกิจการ และต้องการความปลอดภัยให้กับข้อมูล การนำข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Files Server เพื่อให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา เสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Centralized Disk Storage) และจัดการให้ผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว ทำให้ง่ายต่อการควบคุมและบริหาร ง่ายต่อการสำรองข้อมูล เพราะสามารถจัดทำเพียงที่เดียว

แล้วต้องใช้คอมพิวเตอร์แบบไหนมาเป็นผู้ให้บริการ ?
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคล (Personal Computer หรือ PC) หนึ่งเครื่อง เชื่อมต่ออยู่กับ Notebook เมื่อคุณสำเนาไฟล์จากเครื่อง PC มาที่เครื่อง Notebook กระบวนการนี้คือระบบการให้บริการแบบง่ายๆของ PC แล้วครับ เราจะถือว่า PC เครื่องนี้ คือเซิร์ฟเวอร์ได้เลยครับ ถึงตรงนี้คงมีคนสงสัยว่า เครื่อง PC ธรรมดาๆ ก็เป็นเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วหรือ ถูกต้องแล้วครับ เพียงแต่มันเหมาะสมหรือไม่? หากต้องเกิดกระบวนการแบบนี้ซ้ำๆ บ่อยๆ หรือมีผู้ใช้เข้ามาใช้พร้อมๆกันในปริมาณมาก เครื่อง PC ไม่ได้ถูกออกแบบให้มาทำงานหนักๆในลักษณะนี้ และที่ชัดที่สุด คือเซิร์ฟเวอร์มักจะเปิดให้บริการตลอดเวลา ดังนั้นชิ้นส่วนควรได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานแบบเปิดตลอดเวลา
เรื่องน่าสนใจอีกประการคือ เซิร์ฟเวอร์มีองค์ประกอบเพิ่มเติมหลายอย่าง ที่ทำให้เราเชื่อมั่นว่าข้อมูลของเรายังคงอยู่รอดปลอดภัยดี

ในเมื่อสำคัญ ก็ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่จัดระบบสำรองไฟ มีระบบปฏิบัติการสำหรับ Server โดยเฉาพะ ดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ได้แก่การสำรองในรูปแบบต่างๆ มีระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี Server ใช้ภายในบริษัท ?
ในแง่การลงทุน ราคาเซิร์ฟเวอร์แพงไหม ?
เมื่อหลายปีก่อน การที่ SMEs ขนาดเล็กจะลงทุนเซิร์ฟเวอร์สักตัว ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะราคาเฉพาะตัวเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวก็ไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นบาท แต่ปัจจุบัน ราคาเซิร์ฟเวอร์รุ่นเล็กๆราคาถูกกว่าคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์ด้วยซ้ำ เมื่อลงทุนแล้ว เทียบกับค่าเสื่อม 5 ปี แลกกับความปลอดภัย ความมีเสถียรภาพของระบบ และเมื่อเฉลี่ยต่อเดือน ถือว่าคุ้มมากครับ

เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา งานก็ต้องหยุดชั่วคราว แต่ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ การกู้คืนให้ระบบกลับมาทำงานได้ ทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว นั้นคือความคุ้มค่าทางธุรกิจอีกประการหนึ่ง

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof
Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

2
สวัสดีค่ะ วันนี้มี Cloud, Server จากบริษัท CDN Cloud มาแนะนำค่ะ!

CDN Cloud เป็นบริษัทมากประสบการณ์จากประเทศจีนที่มาเปิดสาขาที่ประเทศไทยได้ไม่นาน

มีบริการคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์ราคาถูกของต่างประเทศ เช่น จีน อเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุุ่น ฯลฯ
และยังมีจุด POP กระจายไปครอบคลุมทุกภูมิภาค ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเสถียร รวดเร็ว ปลอดภัยแน่นอนค่ะ

คลาวด์ต่างประเทศ ราคาเริ่มต้นที่ 66 หยวน/เดือน (320 บาท โดยประมาณ)

ตอนนี้เราบริการทั้งคู่ค้าขนาดเล็กและร่วมลงมือกับคู่ค้าขนาดใหญ่ที่สนใจนำสินค้าตนเองไปบุกตลาดจีน


สนใจติดต่อได้เลยนะคะ
บริษัท CDN Cloud @ The ninth Tower B Building, Rama 9
LINE ID:  Mei_Taekii
มือถือ 064-47334441
Email : sales.amei@cdncloud.com

#Webserver #Webhosting #Cloudhosting #SEOserver #VPS

3
ส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์

เซิร์ฟเวอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ในส่วนของระดับ Hardware ตัว Server ส่วนใหญ่จะสร้างจากโครง Rack Mount ประกอบไปด้วย Power Supply, System Board, CPU, แรม, ฮาร์ดดิสก์ และ Network Interface โดยวันนี้เราจะมาเจาะลึกแต่ละชิ้นส่วนให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้กันดังนี้ค่ะ

Processor
ระบบประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU นั้น เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำหน้าที่ประมวลผลโปรแกรมและบริหารจัดการข้อมูล Server บางรุ่นอาจจะมี Processor หลายตัว ติดตั้ง 1 ตัวต่อ 1 Socket หรือบางรุ่นอาจจะใช้ตัวเดียว แต่ประกอบด้วยจำนวน Core หลายคอร์เพื่อรองรับการประมวลผลพร้อมๆ กัน ณ ช่วงเวลาเดียวสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ คือจำนวน Core, CPU Clock Speed, Cache และจำนวน Socket

Memory
หน่วยความจำหรือแรมของ Server มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดึงศักยภาพสูงสุดของระบบ System มาใช้งาน ยิ่งมีการรองรับความจุ Ram เยอะ ก็ยิ่งทำให้ทำงานและรองรับ Workload ขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผล ได้แก่ความเร็วและคุณภาพของชนิดแรม

Storage

ความจุของ Server นั้น ขึ้นกับ Application ที่ใช้ และปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ เช่น Database Server จะมีความต้องการความจุที่แตกต่างจาก Web Server เป็นต้น เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะรองรับชนิดฮาร์ดดิสก์แบบ SSD และ Hard Drive แบบดั้งเดิม เพราะฉะนั้นต้องทำการตรวจสอบให้ดีว่าการนำไปใช้งานต้องใช้ HDD ประเภทไหนถึงจะเหมาะสม ซึ่งอาจจะรวมไปถึง Serial-Attached SCSI, Serial Advanced Technology Attachment และ NVMe
ประเภทงานที่ทำจะเป็นตัวกำหนดเองว่าเทคโนโลยี Storage แบบไหนถึงจะเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่ต้องการ Database ขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้ Local Instance Drive เช่น NVMe PCI Express เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึง Disk Space และ Drive Speed ด้วยค่ะ

Connectivity
การเชื่อมต่อระบบ Network ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Server เช่นกัน ควรจะมีการกำหนดความต้องการการเชื่อมต่อให้เรียบร้อยแล้วจึงมาเลือกจัดสรร Spec ของตัวเครื่องอีกทีหนึ่ง อาทิเช่น จำนวน Ehernet Port, จำนวนและชนิด USB Port หรือ Storage-area Network เป็นต้น

ส่วนประกอบอื่นๆ

มีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่สำคัญต่อตัวเครื่อง เช่น ความจุในการรองรับ Hot Swap, ระดับในการทำ Redundancy ของส่วนประกอบต่างๆ คือ Hard Drive, Power Supply และ พัดลม เป็นต้น ในองค์กรใหญ่ๆ ระบบ Security ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เซิร์ฟเวอร์ขาดไม่ได้

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof
Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)


4
CDN คืออะไร?
สำหรับ CDN หรือ Content Delivery Network คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ของเครื่องเชิฟเวอร์จำนวนมาก ที่กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเชิฟเวอร์เหล่านั้นจะทำการเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลให้ไปถึงผู้รับปลายทางให้เร็วที่สุด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น ได้ตลอดเวลา
ยกตัวอย่าง Google มี Server วางอยู่มากมายทั่วโลก ทำให้ CDN ส่ง Resource file นั้นจาก CDN ที่ใกล้ User ที่สุดไปให้ได้ (อาจจะใกล้กว่า Host ของ Website เราเองด้วยซ้ำไป) ดังนั้นเราได้ request กลับมาเร็วขึ้น Resource ไฟล์ต่างๆ ก็จะโหลดเร็วขึ้นเนื่องจาก ค่า Latency ลดลง
Latency คือค่าความหน่วงในการส่งข้อมูล เป็นเวลาที่ใช้ในการนำ 1 data package จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
ข้อมูลหรือ Content บนอินเทอร์เน็ตที่ส่งผ่าน CDN ได้นั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ ไฟล์เอกสาร ซอฟต์แวร์ และไฟล์มัลติมีเดียประเภทต่างๆ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกคัดลอก (Caching) ไปเก็บไว้บนเครื่องเซิฟเวอร์ที่กระจายตัวอยู่บริเวณเครื่องปลายทาง หรือที่เรียกว่า “Edges” of the Internet เมื่อมีการร้องขอข้อมูล เซิฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุดจะเป็นคนตอบรับคำร้องขอเหล่านั้นแทนเครื่องเซิฟเวอร์ต้นทางที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งสามารถร่นระยะเวลาในการส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นกว่าเดิมโดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 50%

ประโยชน์จากการใช้ CDN
CDN ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการแก่ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ เจ้าของ Content และแอพพลิเคชัน รวมไปถึงผู้ให้บริการเครือข่ายหรือ ISP
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์: CDN ช่วยให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์และเว็บแอพพลิเคชันสามารถโหลดข้อมูลมาแสดงผลและทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ได้รวดเร็วกว่าการไม่ใช้ CDN
เจ้าของ Content: เว็บไซต์ E-commerce, ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ และผู้ให้บริการระบบคลาวด์ สามารถใช้ CDN เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ลูกค้าอยู่ต่างประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา และการการันตีความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น ป้องกันการโจมตีแบบ DDoS เป็นต้น เหล่านี้ก่อให้เกิด Brand Loyalty อันแข็งแกร่งในระยะยาว
ISP: ด้วยอัตราการใช้งาน Online Streaming และ Video on Demand ที่เติบโตสูงขึ้น CDN เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับชมให้เหมาะสมต่ออุปกรณ์หลากหลายประเภท เช่น โน๊ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต รวมไปถึงช่วยลดปริมาณทราฟฟิคที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายและเซิฟเวอร์หลักโดยการกระจาย Content ไปเก็บไว้ยังระบบ CDN นอกจากนี้ ISP ยังสามารถนำ CDN ไปจัดทำเป็นโซลูชันร่วมเพื่อนำเสนอขายต่อองค์กรขนาดใหญ่และเจ้าของ Content ได้

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof
Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

5
เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) จะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น แนวโน้มการนำคลาวด์ คอม พิวติ้งไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือจากองค์กรต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ

เรื่องนี้เราจะมาขยายความเรื่อง Cloud Server หนึ่งในบริการที่เราภาคภูมิใจกัน

คลาวด์คอมพิวติ้ง คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทาง ด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าใน อดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น

ใน อนาคตอันใกล้ คลาวด์คอมพิวติ้งจะ กลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและจะเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการใช้งานทางด้านไอทีขนานใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว แนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้

1. แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก
ปัจจุบัน เว็บเครือข่ายทางสังคม (โซเชียลเน็ตเวิร์ก) มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) วิกิพีเดีย (Wikipedia) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) เป็น ต้น ด้วยความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายของเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร

โดย การเลือกใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งดังกล่าวนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน18,000 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อ ประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
นอกจากนั้น การสื่อสารอินเทอร์แอคทีฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ 2.0 ก็ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าว นอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซท์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย

2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน
ด้วย ปัญหาโลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานใน ระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูง สุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของ ระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร
ด้วย การแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างของ องค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง

4. ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน
ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัด แทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรด เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นในอดีต

5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ทุก วันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆ มากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบัน เราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมาย แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละ วัน โดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้น หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดี การนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์ คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้ เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิม

ด้วย ความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ ถือได้ว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการ ต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร

ที่มาจาก : SIPA

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof
Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

6
Alibaba Cloud คืออะไร? Alibaba Cloud ดีอย่างไร?

          บริษัท Alibaba บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีนที่หลายๆคน คงรู้จักกันเป็นอย่างดี คนไทยหลายๆคน เวลานึกถึงการสั่งของที่ราคาถูกมาจากจีนต้องนึกถึงเว็บไซต์ของ Alibaba กันอย่างแน่นอน ซึ่งนอกจากเว็บไซต์ขายส่งสินค้าจากจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้วเนี้ย Alibaba ยังมีอีกหลายธุรกิจมากมายในเครือทั้งอีคอมเมิร์ซ ค้าปลีก อินเทอร์เน็ต เอไอและเทคโนโลยีข้ามชาติของจีน ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่อันดับต้นของจีน แล้วAlibaba Cloud คืออะไร มันดียังไง ทำไมเราจึงควรใช้ และมันน่าสนใจยังไง เรามาอ่านกันในบทความนี้กันเลย

Alibaba Cloud คืออะไร

เป็นบริการ Cloud Computing ที่เปิดตัวในปี 2009 โดยบริษัท Alibaba เป็นผู้ให้บริการ IaaS ชั้นนำของโลก ที่มีผู้ใช้งานสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียแปซิฟิกสำหรับบริการด้าน IaaS และ IUS (Infrastructure Utility Services) ให้บริการ Data Center, การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent, AI) และระบบความปลอดภัยของข้อมูล โดย Alibaba Cloud มี Data Center ด้วยกัน 23 แห่งทั่วโลก และมี Data Center ในจีนมากถึง 6 แห่ง พร้อมทั้งยังมีลูกค้าที่ใช้บริการทั่วโลกมากถึง 3 ล้านราย จน IDC จัดให้ Alibaba Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Infrastructure Service อันดับ 3 ของโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมให้บริการในประเทศไทยแล้ว ด้วยคลาวด์โซลูชันมากกว่า 100 บริการ ที่ตอบโจทย์ให้กับทุกความต้องการของทุกธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่สตาร์ทอัพ องค์กรขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไปจนถึงหน่วยงานราชการ

6 สิ่งที่ Alibaba Cloud มีดีกว่าผู้ให้บริการคลาวด์เจ้าอื่น


1. จำนวนงานบริการที่มากสุดและครอบคลุมสุด
ถ้าพูดถึงจำนวน services ที่ Alibaba Cloud ประกาศออกมาช่วงครึ่งปีหลัง 2019 จะมีอยู่ทั้งหมด 597 products กับอีก 300 solutions ซึ่งครอบคลุมการใช้งานที่เป็นระดับ Enterprise และธุรกิจขนาดกลาง ส่วน Amazon Web Services มีอยู่ 175 services

2. การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลแบบ Computational Storage
เป็นที่รู้กันดีว่า ระบบ e-commerce ในกลุ่ม Alibaba ทำงานอยู่บน Alibaba Cloud เพราะฉะนั้น volume หรือปริมาณของ data นั้นมหาศาลมาก และมีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วมาก (low-latency) ซึ่งเทคนิคที่อาลีบาบาใช้ก็คือคอนเซ็ป “Computational Storage” เพิ่มขีดความสามารถทั้งในส่วนที่เป็น hardware และ software

3. ความสามารถของ Database
PolarDB คือฐานข้อมูลหลักของ Alibaba Cloud ที่ใช้ชิพ FPGAs ในการประมวลผล และใช้ InnoDB เป็น database engine ตัวเดียวกับที่ MySQL ใช้เลยแต่เป็น InnoDB ที่ถูกเอามาดัดแปลงใหม่ใส่ชิพพิเศษอย่างที่บอก เพื่อเน้นเพิ่มความเร็ว และใช้ RDMA หรือ Remote Direct Memory Access ในการดึงข้อมูลจาก computer node ต่างๆ เพื่อลดปัญหาเรื่อง I/O bottleneck ซึ่งตัว PolarDB เนี่ยยังทำงานบน query จากดาต้าเบสเจ้าอื่นๆ อย่าง MySQL , PostgreSQL หรือ Oracle DB ได้ด้วย โดยเจ้า PolarDB เป็น บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ ปรับขนาดได้ อิงตามระบบไฟล์แบบกระจายออกแบบโดย Alibaba Cloud รวมกับโซลูชัน SSD ประสิทธิภาพสูงทำให้ได้ฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการสำรองข้อมูล การกู้คืนการตรวจสอบการโยกย้ายและชุดฟังก์ชันที่ครอบคลุมฐานข้อมูลช่วยมุ่งเน้นการพัฒนา

4. ใช้ระบบ Cloud ระดับ Enterprise Network
หรือที่เรียกกันว่า CEN ซึ่งอาลีบาบาเขาก็ใช้ระบบคลาวด์ข้าม region อยู่บน network ของตัวเอง ซึ่งจะคอนโทรลความเร็วหรือ bandwidth ได้ตามใจชอบแบบ real time ผ่าน web console หรือจะผ่าน API ก็ได้ ทำให้มีความหน่วงทาง Latency ต่ำและมีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่เจ้าอื่นๆนั้นนน ข้ามภูมิภาคกันผ่าน public internet บ้านๆ เนื่องจากทางอาลีบาบา มีศูนย์บริการดาต้าเซ็นเตอร์ตั้งอยู่ 23 ประเทศอยู่ทั่วโลก ครบคลุมทุกภูมิภาค ได้แก่ สิงค์โปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรต, ญี่ปุ่น, ทางตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา (เวอร์จิเนีย), ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา (แคลิฟอร์เนีย), เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, อินเดีย, ฮ่องกงและ จีน

5. ใช้ AI ในแพลตฟอร์มอัจฉริยะแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
Alibaba Cloud ET Brains ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และครอบคลุมหลายหมวดธุรกิจ มันสามารถวิเคราะห์และจัดการข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างในปี 2018 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในเมือง Jinhua ของรัฐ Zhejiang ทางตอนเหนือของจีน ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศเดิมที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะสลับกับเนินเขาล้อมรอบด้วยภูเขา   ซึ่งทำให้ช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี เวลาเจอฝนตกหนักจะเกิดน้ำท่วม แต่ในขณะเดียวกันในช่วง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน จะประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากขาดแคลนปริมาณน้ำฝน ดังนั้นทางการของจีนจึงใช้ AI ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำและคาดการณ์สภาพอากาศ ซึ่ง นั้นจะทำการรวมรวบและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกียวข้องได้อย่างรวดเร็วและแม่นย้ำได้มากกว่าเดิม ทำให้ทางหารของจีนนั่นสามารถวางแผนและตัดสินใจในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัตืต่างๆได้ทันที และยังมีตัวอย่าง Smart City Brain ที่ใช้งานจริงในหางโจว ควบคุมเรื่องการขนส่งจราจร สัญญาณเตือนภัยต่างๆ การดูแลขนส่งสาธารณะในเมือง ทำให้เป็นเมืองแห่งอนาคต

6. ความปลอดภัยขั้นสูง Web Application Firewall
ปกป้องเว็บแอปพลิเคชันและเว็บไซต์จากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต WAF จะตรวจจับและปิดกั้นสภาพแวดล้อมของข้อมูลที่เป็นอันตรายเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลทางธุรกิจและป้องกันการทำงานผิดพลาดที่เกิดจากการโจมตีที่เป็นอันตราย ซึ่ง Alibaba Cloud ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลระดับโลกหลายรายการ เช่น ISO 27001 และ MTCS ซึ่งกำหนดให้มีการรักษาความลับของข้อมูลผู้ใช้อย่างเข้มงวด รวมถึงการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

จากที่เราเห็นกันไปสำหรับข้อได้เปรียบของมันนั่นฟังดูน่าสนใจเลยที่เดียวสำหรับบริการ Cloud Computing หากธุรกิจของคุณอยากจะขยับขยายไปสู่ตลาดจีน อยากจะหาลูกค้าหรือเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างคนจีนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก Alibaba Cloud จะเป็น China Gateway เปิดประตูสู่ Digital ในประเทศจีน ขับเคลื่อนความก้าวหน้าธุรกิจของคุณในประเทศจีนโดยทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ Cloud อันดับ 1 ของเอเชียและจีนอย่าง Alibaba Cloud ซึ่งบริษัท Monster Connect ของเราเป็น Business unit หนึ่งของบริษัท Alibaba Group (NYSE: BABA) ที่พร้อมให้บริการด้าน Cloud Services โดยใช้ Cloud ของทาง Alibaba ที่ครบวงจรระดับโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจออนไลน์ของลูกค้าต่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Alibaba Group

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof
Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

7
พูดคุยเรื่อง Web Hosting / Server คืออะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2021, 10:20:33 am »
Server คืออะไร

สำหรับหลายคนที่ไม่มีความรู้เรื่องไอทีมากนัก คงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ (Server) ว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง ในบทความนี้เราจึงจะขอนำเสนอความหมายของเซิร์ฟเวอร์ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร แล้วเราสามารถนำเซิร์ฟเวอร์มาใช้อย่างไรได้บ้าง รวมทั้งทำไมหลายองค์กรในสมัยใหม่ๆ นี้มองเห็นว่าเซิร์ฟเวอร์ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้โดยไม่หยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เราต้องทำงานกับจากที่ไหนก็ได้เช่นนี้ การทำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์ที่ดีขององค์กรจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเป็นเฉพาะเรื่องไอทีเท่านั้น

ในปัจจุบันหลายบริษัทหรือองค์กรต่างนำข้อมูลต่างๆขึ้นไปฝากไว้ผ่านผู้ให้บริการ เพื่อการจัดเก็บข้อมูล หรือประมวลผล Application ต่างๆ แทนที่จะเก็บข้อมูลและการประมวลผลทั้งหมดบน Storage หรือ Datacenter ภายในสำนักงานของตนเอง ซึ่งเราเรียกเซิร์ฟเวอร์ประเภทที่วางไว้ในสำนักงานนี้ว่าเป็น On-premise Server ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผลตามความต้องการของเรานั่นเองเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ จริงๆ แล้วคำว่าเซิร์ฟเวอร์เองมีความหมายกว้างกว่านั้นมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เรามาดูนิยามของเซิร์ฟเวอร์กันเลยว่าคืออะไร

เซิร์ฟเวอร์ (Server) ในทาง Computing คือโปรแกรม Computer หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณหรือประมวลผลตามที่ผู้ใช้หรือ Application ต้องการ และพร้อมให้บริการเมื่อใดก็ตามที่มีการร้องขอบริการ รองรับการให้บริการได้หลากหลายและสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันระหว่างผู้ใช้ ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ Web Server, Database Server, Mail Server, File Server, Application Server และ Virtual Server เป็นต้น

เซิร์ฟเวอร์จะแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปที่สามารถรองรับการให้บริการและการประมวลผลขนาดใหญ่ พร้อมให้บริการผู้ใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อมีการร้องขอหรือต้องการใช้งาน สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยสูงมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใน Datacenter ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และได้รับการดูแล (Maintenance) โดยผู้มีประสบการณ์และความรู้ที่ผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการดูแลเซิร์ฟเวอร์ประเภทต่างๆ

การนำไปใช้

เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับการให้บริการได้หลากหลายรูปแบบตัวอย่างที่พบบ่อยได้แก่

Web Server

ให้บริการการเรียกใช้งาน Website โดยใช้ HTTP Protocนl ผ่าน Web Browser ตัวอย่าง Software สำหรับรัน Web Server เช่น Apache, Nginx, IIS และ Tomcat เป็นต้น

Database Server

ให้บริการและจัดเก็บฐานข้อมูล เช่น MySQL, MariaDB, PostgreSQL และ Microsoft SQL Server เป็นต้น

Application Server

ให้บริการโปรแกรมประยุกต์ รองรับการพัฒนา Application และรัน Application ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

Mail Server

ให้บริการการรับส่งอีเมล์ ตัวอย่างเช่น Exim, Sendmail, Zimbra และ Microsoft Exchange เป็นต้น

Virtual Server

ให้บริการแชร์ Server Configuration หรือการจำลอง Server เสมือน ตัวอย่างเช่น KVM, Xen Server, VMware ESXi และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น

File Server

ให้บริการการจัดเก็บข้อมูล เช่นไฟล์เอกสาร, Multimedia เป็นต้น ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับ File Server เช่น Owncloud, SharePoint Server และ Dropbox เป็นต้น

DNS Server

ให้บริการการจัดเก็บข้อมูลชื่อโดเมนเมน ช่วยแปลงหมายเลข IP Address เป็นชื่อ Domain Name ตัวอย่างเช่น Bind, PowerDNS และ MyDNS เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้เซิร์ฟเวอร์

ประสิทธิภาพสูง สามารถประมวลผลหรือรองรับการใช้งาน Software และ Application พร้อมกันได้ในปริมาณมากๆ
ปลอดภัย เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ให้บริการภายใต้ Data Center ที่มีความน่าเชื่อถือสูง จึงถูกดูแลและบริหารจัดการจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ พร้อมตรวจสอบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
น่าเชื่อถือ ออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลปริมาณสูง พร้อม Hardware ที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมให้บริการได้ตลอดเวลา จึงยากต่อการเกิด Downtime และการสูญเสียของข้อมูลเมื่อ Hardware มีปัญหา
สะดวกและมีความยืดหยุ่น รองรับการเข้าใช้งานได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปราศจากข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์ และการเข้าถึง สามารถจัดการ ปรับปรุง แก้ไข และแชร์ข้อมูล พร้อมกันได้อย่างรวดเร็ว
จัดการง่าย เซิร์ฟเวอร์รองรับการติดตั้ง Software ได้หลากหลายชนิด Software หรือ Application อาจมาพร้อมกับ User Interface ให้ผู้ใช้สามารถบริการจัดการหรือตั้งค่าได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังสามารถแบ่งเบาภาระงานและลดความซ้ำซ้อนของการรันโปรแกรมหรือ Application ต่างๆ ไว้บนเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลและบริการจัดการระบบทั้งหมดได้จากส่วนกลางเพียงจุดเดียว ทั้งยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของการใช้ทรัพยากรเช่น Disk และหน่วยประมวลผล ที่ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการจัดการ รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางของข้อมูล ลดการกระจัดกระจายของข้อมูลออกไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย

ปัจจุบัน Cloud Server เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นการโฮสต์โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเอง ซึ่งมีทั้ง Cloud Provider ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้นจะมีราคาสูงเพราะมีเรื่องของมูลค่าในเรื่องของการดูเรื่องความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น Microsoft Azure, Google Cloud, หรือ AWS

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

8
Server คืออะไร ทำหน้าที่อะไร มีประโยชน์อย่างไร Server มีกี่ประเภท

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งเราต้องมีการเชื่อมต่อไปยัง Server ซึ่งหลายคนก็คงได้ยินคำว่า Server กันมาบ้างแล้วและคงเคยมีใครถามว่า Server คืออะไร หลายคนก็ยังสงสัยว่า Web server, Mail server, DNS server และ Database server แตกต่างกันอย่างไร แล้วเมื่อพูดถึง Server จริงๆแล้วหมายถึง Server แบบไหนกันแน่

Server คืออะไร
Server คืออะไร เป็นคำถามที่เราเคยได้ยิน ซึ่งเราต้องรู้จักก่อนว่า Server มีหน้าตาอย่างไร Server เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถที่สูง และมีโปรแกรมในที่ค่อยให้บริการกับลูกข่ายที่เข้ามาเชื่อมต่อกับ Server

โดยส่วนมากแล้วเครื่อง Server จะแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันคือ
1. แบบ Rack จะมีลักษณะเป็นแท่งสีเหลี่ยมยาว ๆ เพราะถ้าใช้แบบ Rack ค่าบริการที่จะนำ Server ไปวางไว้ที่ Data Center ก็จะถูกกว่าแบบ Tower
2. แบบ Tower หน้าตาจะเหมือนกับ PC ทั่ว ๆ ไปที่ใช้กันในบ้าน และค่าบริการการวางที่ Data Center ก็จะเแพงกว่าแบบ Rack เกือบเท่าตัว

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง Server จะเป็น 3 ระบบปฏิบัติการนี้คือ
1. Linux สำหรับ Linux Distribution ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Debian, Ubuntu, Redhat และ Fedora เป็นต้น Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีนักพัฒนาอยู่ทั่วโลกร่วมกันพัฒนาด้วย
2. Windows สำหรับ Windows ที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่ Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการจากไมโครซอฟท์ที่มีความเสถียรและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
3. Unix สำหรับ Unix สำหรับระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการณ์ที่เก่าแก่ระบบหนึ่ง ที่ยังใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ BSD

Server ทำหน้าที่อะไร
Server ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ให้บริการต่าง ๆ ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต หรือโครงข่ายที่มีลูกข่าย เมื่อมีผู้ใช้งานมาขอใช้บริการ Server เครื่อง Server จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องเพื่อให้บริการในทันที

ซึ่งบริการของ Server นั้นมีหลากหลายอย่างด้วยกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 หน้าที่หลัก ๆดังต่อไปนี้
1. Web server คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้านการจัดการเว็บไซต์ โดยส่วนมากโปรแกรมที่นิยมใช้เป็น Web server จะเป็น Apache web server
2. Mail server คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้าน E-mail โปรแกรมที่ใช้ในด้าน Mail server มีอยู่หลายโปรแกรมด้วยกันแต่ที่นิยมกันจะมีอยู่ 3 โปรแกรมคือPostfix, qmail, courier
3. DNS server คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้านโดเมนเนมที่จะค่อยเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการให้เป็น IP Address โปรแกรมที่นิยมใช้คือ bind9
4. Database server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านการจัดการดูแลข้อมูลต่างๆภายในเว็บไซต์ โปรแกรมที่มีการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็น mysql, postgresql, DB2

โดยการทำงานของ Server จะทำงานพร้อมกันหลาย ๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากความสามารถของเครื่อง Server ส่วนใหญ่จะมีความสามารถที่สูง โดยการทำงานแต่ละอย่างของ Server จะทำงานใน Port ที่ต่างกันไป

Server มีประโยชน์อย่างไร
Server เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการให้บริการที่สูงมาก โดยประโยชน์หลัก ๆของ Server นั้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เข้ามาขอใช้บริการ

นอกจากที่เครื่อง Server ยังสามารถนำมาใช้ในสำนักงานได้อีกด้วย โดยประโยชน์ในการใช้เครื่อง Server ในสำนักงาน คือ ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรต่าง ๆได้ เพราะว่าคอมพิวเตอร์ทุกตัวสามารถใช้งานทรัพยากรนั้น ๆ ได้เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

Server มีกี่ประเภท
Server สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็นหลัก
1. File Server มีหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถที่จะนำไฟล์มาฝากไว้ใน File Server ได้
2. Print Server มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องปริ้นท์ให้สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรนั่นเอง ซึ่งส่วนมากจะมีใช้ในองค์กรขนาดใหญ่
3. Database Server มีหน้าที่ในการรันระบบที่เป็นฐานข้อมูล DBMS (Database Management System ) ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลและตัวจัดการฐานข้อมูล เช่น SQL , Informix
4. Application Server มีหน้าที่ในการรันโปรแกรมประยุกต์ โดยมีการทำงานที่สอดคล้องกับผู้ใช้งาน

Server เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญมากในระบบอินเตอร์เน็ตและในระบบเครือข่าย ซึ่งความสามารถของ Server นั้นเราสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามหน้าที่และลักษณะงานให้เข้ากับ Server ประเภทต่าง ๆเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีที่สุดนั่นเอง

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

9
พูดคุยเรื่อง Web Hosting / Cloud Computing คืออะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2021, 10:59:24 am »
Cloud Computing คืออะไร ? Cloud Computing ดีอย่างไร ?

Cloud Computing คืออะไร ?
หากพูดถึงว่า คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คืออะไร? หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google Drive บน Android
หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว บริการ CloudComputing มีความหมายกว้างขวางกว่านั้นมาก
Cloud Computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา
และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงินรู้จักคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) แบบเข้าใจง่าย
หากแปลความหมายของคำว่า Cloud Computing ดูจะเข้าใจยาก หรือถ้าแปลเป็นไทย “การประมวลผลบนกลุ่มเมฆ” ก็ยิ่งดูจะงงเข้าไปใหญ่ แต่น่าจะง่ายกว่าถ้าบอกว่า Cloud Computing
คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตาม
ความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบนCloud จากที่ไหนก็ได้ ดังแผนภาพด้านล่างนี้นั่นเอง

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)

10
พูดคุยเรื่อง Web Hosting / Web Hosting คืออะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2021, 03:43:32 pm »
หลายๆคนเคยได้ยินคำว่า Web Hosting มาก่อนไหมคะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกันเถอะ

Web Hosting คือ บริการที่ช่วยให้องค์กรและบุคคลทั่วไป สามารถโพสต์เว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไว้บนอินเทอร์เน็ตได้
โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้นเป็นธุรกิจที่ให้บริการเทคโนโลยีและบริการที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเพื่อดูในอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะต้องฝากเว็บไซต์ไว้กับผู้ให้บริการหรือที่จัดเก็บพิเศษบนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการดูเว็บไซต์ของคุณ สิ่งที่ต้องทำคือพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์หรือโดเมนลงในเบราเซอร์ บนคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจึงจะเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของคุณและหน้าเว็บของคุณจะถูกส่งถึงพวกเขาผ่านทางเบราเซอร์
แต่ก่อนถ้าต้องการออนไลน์เว็บไซต์ของตัวเองจะต้องมีเซิร์ฟเวอร์ก่อน แต่การมีเซิร์ฟเวอร์นั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล อีกทั้งยังมีราคาสูง อย่างนั้นคนจึงหันมาให้ความสนใจกับบริการ Web Hosting กันมากกว่า

ประเภทของเว็บโฮสติ้ง
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นมีหลายประเภท เราควรเลือกโซลูชั่นให้เหมาะกับเว็บไซต์ของเราประเภทของเว็บโฮสติ้งโซลูชั่นที่พบได้บ่อยมีดังนี้

1. Shared Web Hosting
Shared Web Hosting หรือเรียกอีกชื่อว่า Virtual Hosting เป็นการฝากเว็บไซต์ไว้กับ Web Server ที่ให้บริการเว็บไซต์ของลูกค้าอีกจำนวนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ shared hosting จึงมีข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในด้านของ Traffic และชนิดของ software หรือ script ที่สามารถใช้ได้ เช่นผู้ให้บริการหลายๆ รายไม่ให้ติดตั้ง wordpress mu สำหรับ Shared Hosting เป็นต้น แต่ Shared Hosting มีข้อดีคือประหยัดและลูกค้าไม่ต้องดูแล Web Server และระบบ Network เอง เพราะผู้ให้บริการจะทำหน้าที่ดูแลด้านนี้ให้อยู่แล้ว

2. Virtual Private Servers (VPS) Hosting
VPS Hosting ย่อมากจาก Virtual Private Server Hosting เป็นการจำลองแบ่งเครื่อง Server ประสิทธิภาพสูง ออกเป็น Server เสมือนจำนวนหนึ่ง โดย Server เสมือนแต่ละตัวนี้จะถูกเรียกว่า Virtual Machine และทำงานได้เสมือนกับ Dedicated Server 1 เครื่อง VPS แต่ละเครื่องนี้จะแยกการทำงานออกจากกันโดยสิ้นเชิง ถ้า VPS ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะไม่มีผลกับการทำงานของ VPS ตัวอื่น ๆ ในระบบ ข้อดีของ VPS Hosting คือสามารถปรับเปลี่ยน Configurations ของซอฟท์แวร์ต่างๆ เช่น Apache, IIS, PHP, Perl modules, MySQL และ อื่นๆ ได้อย่างอิสระนอกจากนี้ ราคาของ VPS Hosting ก็ประหยัดกว่าการติดตั้ง Web Server เอง แต่ข้อเสียของ VPS Hosting คือไม่สามารถรองรับ Traffic ที่เท่าวาง Server เอง

3. Dedicated Hosting and Collocated Hosting
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นนี้เป็นโซลูชั่นที่แพงที่สุด เหมาะสำหรับเว็บที่ Traffic สูงมาก เว็บที่ต้องการ uptime สูงเป็นพิเศษ หรือเว็บที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลมาก ข้อแตกต่างระหว่าง Dedicated Hosting และ Collocated Hosting คือแบบแรกเป็นการเช่าหรือเช่าซื้อเครื่อง Server ที่วางที่ IDC แต่แบบหลังเป็นการนำ Server ของเราเองไปวางที่ IDC โดยเสียค่าเช่าพื้นที่วางตามที่ตกลง ข้อดีของโฮสติ้งโซลูชั่นนี้คือสามารถลองรับเว็บขนาดใหญ่ได้ มีความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นเจ้าของทั้ง Harddisk แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงและอาจจะต้องจ้าง System Admin มาดูแล หากขาดความรู้เรื่องระบบหรือไม่มีเวลา

สนใจสอบถามเพิ่มได้ที่ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof Line: mei_taekii  Tel:064473311  (เมวี่)


11
พูดคุยเรื่อง Web Hosting / Re: แนะนำ host หน่อยครับ
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2021, 03:01:31 pm »
สวัสดีค่ะ พิจารณา CDN Cloud ได้นะคะ Website: http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof

สอบถามเพิ่มเติม Line: mei_taekii  Tel: 0644733441 (เมวี่)

12
พิจารณา CDN Cloud ได้นะคะ บริการคุณภาพระดับนางฟ้า  :) http://www.cdncloud.com/#/?tid=yyjletof

13
สวัสดีค่ะ แนะนำว่าถ้าจะใช้ hosting เพื่อครอบคลุมภูมิภาคไหนก็เลือกซื้อ hosting ของภูมิภาคนั้นค่ะ เช่น ถ้าจะใช้ในไทยก็ซื้อของไทยดีสุด แต่ถ้าจะใช้ของต่างประเทศก็ซื้อกับตางประเทศดีสุดค่ะ

และเมย์มี hosting ของต่างประเทศแนะนำนะคะ ถ้าสนใจ Line: mei_taekii

หรือลองเสิร์ช CDNCloud (บริษัท ซีดีเอ็นคลาวด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า เทคโนโลยี จำกัด) :D

14
พูดคุยเรื่อง Web Hosting / IDC คืออะไร?
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2021, 09:09:38 pm »
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้กับ IDC กันก่อนดีว่าค่ะ

IDC หรือมีชื่อเต็มว่า Internet Data Center) ศูนย์เครือข่ายกลางให้บริการข้อมูล อินเทอร์เน็ต ครบวงจร
ประโยชน์หน้าที่ของ IDC คือ
 1.สำรองไฟฟ้า จะทำงานเมื่อระบบไฟฟ้าทำงานผิดปกติ
2.การเชื่อมต่อกับโครงข่ายสื่อสารข้อมูล
3.โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
4.ระบบรักษาความปลอดภัย
5.วิศวกรผู้เชี่ยวชาญดูแล 24X7

เชื่อมต่อโดยตรงกับ NIX (National Exchange) หรืออินเทอร์เน็ตภายในประเทศที่ความเร็ว 52 Gbps และ CSL-IIG (International Internet Gateway) ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบ Internet ต่างประเทศด้วยวงจรต่างประเทศ 2.5 Gbps X 2 (Fully Redundant)

15
สวัสดีค่ะ วันนี้มี Cloud, Server จากบริษัท CDN Cloud มาแนะนำค่ะ!

CDN Cloud เป็นบริษัทมากประสบการณ์จากประเทศจีนที่มาเปิดสาขาที่ประเทศไทยได้ไม่นาน

มีบริการคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์ราคาถูกของต่างประเทศ เช่น จีน อเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุุ่น ฯลฯ
และยังมีจุด POP กระจายไปครอบคลุมทุกภูมิภาค ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเสถียร รวดเร็ว ปลอดภัยแน่นอนค่ะ

คลาวด์ต่างประเทศ ราคาเริ่มต้นที่ 66 หยวน/เดือน (320 บาท โดยประมาณ)

ตอนนี้เราบริการทั้งคู่ค้าขนาดเล็กและร่วมลงมือกับคู่ค้าขนาดใหญ่ที่สนใจนำสินค้าตนเองไปบุกตลาดจีน


สนใจติดต่อได้เลยนะคะ
บริษัท CDN Cloud @ The ninth Tower B Building, Rama 9
LINE ID:  Mei_Taekii
มือถือ 064-47334441
Email : h.chunmei@hotmail.com

#Webserver #Webhosting #Cloudhosting #SEOserver #VPS

หน้า: [1] 2